วันอังคารที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2560





     เตาเผาโบราณบ้านบ่อสวก ตั้งอยู่ที่บ้านสวกพัฒนา หมู่ที่ 10 ตำบลบ่อสวก อำเภอเมืองน่าน ห่างจากตัวเมืองประมาณ 17 กิโลเมตร เป็นแหล่งผลิตเครื่องเคลือบภาชนะดินเผาที่สำคัญแห่งหนึ่งของเมืองน่านในอดีต ที่มีรูปแบบและกรรมวิธีการผลิตเป็นลักษณะเฉพาะของตัวเองที่แตกต่างไปจากเตาเผาแหล่งอื่น ๆ ของล้านนา

ประวัติเตาเผาโบราณบ้านบ่อสวก
        แหล่งเตาเผาโบราณบ้านบ่อสวก อดีตเป็นแหล่งผลิตเครื่องดินเผาที่สำคัญแห่งหนึ่งในล้านนา จึงมีรูปแบบและประเภทของผลิตภัณฑ์เครื่องถ้วยชามที่มีลักษณะเฉพาะของตนที่ แตกต่างออกไปจากแหล่งเตาเผาอื่น ๆ ในล้านนาและในประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีเทคโนโลยีการผลิตที่ก้าวหน้ามากกว่าแหล่งเตาเผาอื่น  ในระยะเดียวกันดังนั้นผลิตภัณฑ์เครื่องเคลือบดินเผาของแหล่งเตาเมืองน่าน บ้านบ่อสวกจึงแพร่หลายออกไป ยังท้องถิ่นที่อื่นในล้านนา
        จากการเล่าสืบต่อกันมา ของชาวบ้านในบริเวณนี้ เกี่ยวกับความเป็นมาของเตาเผาโบราณนี้ พบว่าบริเวณนี้สมัยก่อน เป็นพื้นที่ ที่อาศัยโดยชาวจีนฮ่อ ที่อพยพมาจากเมืองจีน ซึ่งมีวิถีชีวิตเกี่ยวพันกับการทำเครื่องปั้นดินเผา จึงทำให้เมื่ออพยพมาในบริเวณนี้  ประกอบกับภูมิประเทศที่สมบูรณ์ไปด้วยแหล่งน้ำและดินจึงทำให้ที่นี้กลายเป็น แหล่งเตาเผาที่ผลิตเครื่องถ้วยชามที่สำคัญแห่งหนึ่งในล้านนาทั้งนี้ความเป็นมาของแหล่งเตาเผาโบราณของบ้านบ่อสวกได้มีนักโบราณคดีได้สัน นิฐานว่า แต่ก่อนเตาเผาโบราณแห่งนเป็นของคนกลุ่มไทยญวน หรือที่เรียกว่าคนเมืองซึ่งเป็นกลุ่มคนที่รู้หนังสือและเขียนภาษาไทยได้เป็น อย่างดี และเป็นกลุ่มคนที่นับถือศาสนาพุทธ มีหลักฐานจากการศึกษาได้ค้นพบเศษถ้วยมีรอยจารึกรูปอักษรไทยล้านนา รูปอักษรอายุราวพุทธศตวรรษที่ 21 รอยจารึกดังกล่าวทำขึ้น โดยคนเมืองน่านที่อยู่ในแหล่งผลิตเครื่องถ้วยชามโดยใช้วัสดุปลายแหลมเซาะ ร่องเป็นตัวอักษรบนเนื้อเครื่องถ้วยลายครามของ จีน แหล่งเตาเผาโบราณบ้านบ่อสวก ทำการสำรวจและศึกษาโดยนาย สายันต์ ไพรชาญจิตต์ นายวิเศษ เพชรประดับ หัวหน้าพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติน่านและนายวุฒิชัย โลหะโชติ เลขาธิการประสานงานประชาคมน่าน และเห็นว่าบริเวณนี้มีความเหมาะสมสำหรับขขุดค้นศึกษาทางโบราณคดีต่อไป เนินดินที่พบ คือ เนินดินเตาจ่ามนัส และเตาสุนัน ซึ่งปัจจุบันเนินเตาทั้งสองตั้งอยู่ บ้านเลขที่ หมู่ 10ต.สวก อ.เมือง จ.น่าน ทั้งนี้บริเวณบ้านที่ตั้งเตาเผานี้จะมีพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจำลองเหตุการณ์ วิถีชีวิตต่าง ๆ ของชาวบ้านสวกหมู่ 1และบ้านสวกพัฒนาหมู่ที่ 10 ในอดีตเอาไว้ อีกทั้งยังเป็นแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับความรู้เรื่องบ้านสถาปัตยกรรมต่าง ๆ ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน จึงถือได้ว่าพิพิธภัณฑ์เป็นแหล่งข้อมูลที่สำคัญที่จะให้ความรู้แก่เด็กและ เยาวชน ประชาชนทั่วไปต่อมาได้รับการสำรวจและศึกษามาตั้งแต่ พ.ศ.2527 โดยโครงการโบราณคดีประเทศไทย ( ภาคเหนือ ) กองโบราณคดี กรมศิลปากร และต่อมานาย สายันต์ ไพรชาญจิตร์ ได้เขียนรายงานการศึกษาและบทความเผยแพร่ผลการศึกษาในโอกาศต่าง ๆ หลายครั้ง  นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2527 จนถึงปัจจุบันยังไม่มีผู้ใดทำการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับแหล่งเตาเผาเมือง น่านบ้านบ่อสวกอีกเลย และกรมศิลปากรยังไม่ได้ประกาศขึ้นทะเบียนแหล่งเตาเผาโบราณเหล่านี้
        ในปี พ.ศ.2527 โครงการโบราณคดีประเทศไทย (ภาคเหนือ) หน่วยศิลปากรที่ เชียงใหม่ ได้เข้ามาดำเนินการสำรวจแหล่งเตาเผาเมืองน่านที่บ้านบ่อสวก จนกระทั่งในปี พ.ศ.2542 โครงการวิจัยเครื่องถ้วยล้านนา โดย อ.สายันต์ ไพรชาญจิตร์ อาจารย์ประจำภาควิชาการพัฒนาชุมชน คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ภายใต้การสนับสนุนทุนวิจัยจากรองศาสตราจารย์สุมิตร ปิติพัฒน์ และสถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ดำเนินการสำรวจและขุดค้นเตาเผาในที่ดินของครอบครัวพ่ออุ้ยแสนแม่อุ้ยชื่น ธิเสนา บริเวณบ้านบ่อสวก ต.สวก อ.เมือง จ.น่าน
          แม่อุ้ยชื่น ธิเสนา เจ้าของที่ดินซึ่งจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์เฮือนบ้านสวกแสนชื่นและเตาเผาโบราณ เล่าให้ฟังว่า ได้มาปลูกบ้านในที่ดินนี้เมื่อประมาณปี 2526 ก่อนที่จะปลูกบ้านบริเวณที่พบเตาเผานั้นเมื่ก่อนเป็นจอมปลวกขนาดใหญ่ เมื่อให้รถไถมาเกรดจอมปลวกก็ไม่สามารถทำได้เพราะเป็นดินแข็งมาก ต่อมาจึงได้นำพวกผักสวนครัว ผลไม้มาปลูกในบริเวณใกล้ ๆ กัน ปลูกเท่าไหร่ก็ปลูกไม่ขึ้นเป็นโรคใบหงิกงอ พอดีลูกเขยได้ให้คนเฒ่าคนแก่ในหมู่บ้านมาดูก็บอกว่าเป็นบ่อน้ำเก่าก็เลยไม่ได้ทำอะไร
        จนกระทั่งปี 2542 อ.สายันต์ ไพรชาญจิตร์ พร้อมกับ อ.สมเจตน์ วิมลเกษม จากโรงเรียนสตรีศรีน่านได้เข้ามาสำรวจบริเวณที่ชาวบ้านพบพระพุทธรูปบ้านบ่อสวก ซึ่งได้นำไปเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติน่าน โดยอาจารย์ทั้งสองท่านได้แวะเข้ามาในบริเวณบ้านของแม่อุ้ยชื่นและนั่งพูดคุยกับจ่ามนัสซึ่งเป็นลูกเขยเกี่ยวกับเครื่องถ้วยโบราณบ้านบ่อสวก และเดินสำรวจรอบ ๆ บ้านจนพบว่าบริเวณจอมปลวกขนาดใหญ่นั้นคือปล่องของเตาเผาโบราณ หลังจากนั้นจึงได้นำนักศึกษาโบราณคดีเข้ามาค้นสำรวจก็พบเตาเผาโบราณพร้อมกับเศษภาชนะดินเผาประเภทถ้วย หม้อ ไห ภายในเตา
        จากการศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากคัมภีร์ใบลานล้านนา แหล่งเตาเผาที่นี่น่าจะเรียกว่า บ้านเตาไหเชลียง ซึ่งอาจารย์สายันต์ค้นพบชื่อของหมู่บ้านนี้ปรากฏอยู่ในคัมภีร์ใบลานเรื่องตำนานพระธาตุแช่แห้งอยู่ที่วัดนาซาว
ภายหลังการขุดพบเตาเผาโบราณบ้านบ่อสวกขยายวงกว้างออกไป มีประชาชนผู้สนใจเดินทางมาชมแหล่งเตาเผาแห่งนี้เป็นจำนวนมาก คณะสำรวจและครอบครัวของแม่อุ้ยชื่น ธิเสนาจึงมีความคิดที่จะจัดตั้งพิพิธภัณฑ์เพื่อนำถ้วยไหและเศษภาชนะดินเผาที่พบขึ้นมาจัดแสดงให้กับผู้สนใจได้ชม จึงได้ตั้งพิพิธภัณฑ์เฮือนบ้านสวกแสนชื่นขึ้น โดยจำลองตัวอย่างของเรือนพื้นถิ่นบ้านบ่อสวก ตามรูปแบบคติความเชื่อและภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวบ้าน ภายในจัดแสดงลักษณะวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านบ่อสวกสมัยโบราณ รวมทั้งแสดงโบราณวัตถุทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต การทำมาหากิน การอยู่อาศัยและเครื่องมือหินสมัยก่อนประวัติศาสตร์และเครื่องถ้วยชามสมัยโบราณอายุกว่า 700 ปีที่พบในแหล่งเตาเผาเมืองน่านบ้านบ่อสวก
     ปัจจุบันแหล่งเตาเผาเมืองน่านบ้านสวก และพิพิธภัณฑ์เฮือนบ้านสวกแสนชื่น กลายเป็นแหล่งความรู้ทางโบราณคดีที่มีผู้สนใจเข้ามาเยี่ยมชมปีหนึ่งไม่น้อยกว่าหมื่นคน ในขณะเดียวกันชาวบ้านในชุมชนก็ได้มีส่วนสำคัญต่อการจัดการทรัพยากรและแหล่งท่องเที่ยวของตนเอง ในกระบวนการจัดการนั้นก็ไม่ได้เป็นไปอย่างราบรื่นปราศจากปัญหา หากแต่มีทั้งส่วนที่ประสบความสำเร็จด้วยมิตรไมตรีและส่วนที่ล้มเหลวเพราะความขัดแย้งแย่งชิง
  “ทุกวันนี้พิพิธภัณฑ์เตาโบราณบ้านบ่อสวกและพิพิธภัณฑ์เฮือนบ้านสวกแสนชื่นจะเป็นที่รู้จักกันมากขึ้น ทางราชการก็ขึ้นป้ายแนะนำและชี้บอกทางว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ มีคนมาเที่ยวชมมากขึ้น แต่ครอบครัวของยายก็อยู่แบบเดิม ไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก เพราะไม่ได้ทำเชิงพาณิชย์ ใครมาก็ต้อนรับ วันไหนไม่มีใครมาก็เป็นปกติ ก็คงจะทำแบบนี้ต่อไปเรื่อย ๆ เพราะทำแล้วสบายใจดี
ทว่าเหนือสิ่งอื่นใดจุดมุ่งหมายของการพัฒนาแหล่งโบราณคดีก็เพื่อก่อประโยชน์ทั้งต่อคนและชุมชนท้องถิ่นให้มากที่สุด
    แหล่งเตาโบราณบ้านบ่อสวก นับเป็นแหล่งอุตสาหกรรมผลิตเครื่องถ้วยชามสมัยโบราณ สันนิษฐานว่าน่านจะมีอายุประมาณ 550-750ปี โดยพบหลักฐานเตาเผาและเศษเครื่องถ้วยชามอย่างหนาแน่นตามบริเวณเนินดินริมห้วยปวนและลำน้ำสวกในเขตบ้านบ่อสวก

แก้วเซรามิค, แก้วมัค, สกรีนแก้ว,แก้วเซรามิคราคาส่ง, โรงงานเซรามิค, ถ้วยเซรามิค, แก้วเซรามิคลําปาง, แก้วกาแฟเซรามิค, แก้วมัคราคาส่ง, สกรีนแก้วกาแฟ, รับสกรีนแก้ว,แก้ว mug, แก้วเซรามิคราคาถูก, แก้วสกรีน, ชุดแก้วกาแฟ, แก้วเซรามิคสกรีนโลโก้, โรงงานผลิตแก้วเซรามิค, ชุดกาแฟเซรามิค, แก้วน้ำ, แก้วมัคราคาถูก, โรงงานแก้วเซรามิค, แก้วสกรีนโลโก้, โรงงานเซรามิคลําปาง


บริษัทเซรามิค เอส.ที.ซี. จำกัด | CERAMIC STC CO.,LTD
98 หมู่ 10 ตำบลปงแสนทอง อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง 52100 
ติดต่อ : ฝ่ายขาย  Tel : 054-367-490  
Fax: 054-367-491 
Mobile: 08-4687-8354, 08-3090-2080 
Opening Hours : Mon-Sat : 10:00 – 20:00 
Email: info@ceramicstc.co.th
Line: @ceramicstc

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น