วันจันทร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2560




จากการศึกษาทางด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดีในปัจจุบัน พบว่ามีหลักฐานทางศิลาจารึกโบราณสถานและโบราณวัตถุ โดยเฉพาะวัตถุที่เป็นเครื่องปั้นดินเผาเป็นหลักฐานสำคัญที่สามารถนำมาคำนวณอายุด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์ให้ทราบถึงความเป็นมาของประเทศไทยว่ามีวัฒนธรรมที่สูงส่ง มีพัฒนาการที่ยาวนาน และมีศิลปวัฒนธรรมที่หลากหลาย
ดังนั้นการแบ่งยุคสมัยเครื่องปั้นดินเผาของไทยได้กำหนดโดยจำแนกออกตามอายุความเก่าแก่ของแห่งที่พบ ซึ่งแต่ละยุคสมัยมีเอกลักษณ์คุณสมบัติพิเศษ ความสวยงามที่แตกต่างกันไปซึ่งสามารถแบ่งเป็นยุคสมัยได้ดังนี้

สมัยก่อนประวัติศาสตร์ กำหนดอายุได้ประมาณ 2,500 – 10,000 ปีมาแล้ว

จากหลักฐานการขุดค้นหาทางโบราณคดี ที่ถ้ำผี อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน พบเศษภาชนะดินเผาที่เผาในอุณหภูมิต่ำ เนื้อดินปั้นหยาบ มีการตกแต่งลวดลายต่างๆ เช่น ลายเชือกทาบจากการกดประทับ ในบริเวณหมู่บ้านเก่า อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี พบภาชนะดินเผาที่มีรูปแบบเด่นชัด เช่น หม้อสามขา ภาชนะทรงพาน และภาชนะทรงหม้อตาล เป็นต้น
  เนื้อดินปั้นภาชนะจะเป็นแบบเนื้อเอิร์ทเธนแวร์(Earhenware) เผาในอุณหภูมิต่ำ เนื้อดินปั้นไม่สุกตัว มีหลายสี เช่น น้ำตาล แดง ดำ เหลือง มีการแตกต่างลวดลายด้วยการขูด ขีด การกดประทับเป็นลายจักสาน ลายเสื่อ และการขัดผิวมัน
  (การใช้คำว่า “เครื่องปั้นดินเผา” ในบทนี้เพื่อความสัมพันธ์กับเนื้อหาวิวัฒนาการเครื่องปั้นดินเผาในประเทศไทย)
  ส่วนที่บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี พบภาชนะดินเผาที่มีขนาดใหญ่ มีรูปทรงปากผาย ภาชนะก้นกลม ภาชนะมีเชิง เป็นภาชนะดินเผาเนื้อดินปั้นเอิร์ทเธนแวร์เผาในอุณหภูมิต่ำเนื้อดินปั้นไม่สุกตัวมีสีเทา น้ำตาลส้ม มีทั้งประเภทไม่เขียนสีและประเภทเขียนสี การเขียนสีลงบนภาชนะ สีที่เขียนจะเป็นสีแดงหรือสีขาว มีลวดลายต่างๆเช่น ลายรูปสัตว์ ลายเส้นเรขาคณิต ลายขดก้นหอย ลายเส้นโค้ง และยังมีการทำลวดลายคล้ายรูปอวัยวะเพศ ซึ่งอาจเป็นคติความเชื่ออย่างหนึ่งของคนในสมัยนั้นที่เกี่ยวกับความอุดมสมบูรณ์ของอาหาร ได้แก่ พวกสัตว์และธัญพืชต่างๆ


สมัยประวัติศาสตร์
เป็นสมัยที่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ การขุดค้นทางโบราณดคีค่อนข้างชัดเจน ในการศึกษาความเป็นมาของเครื่องปั้นดินเผาในสมัยนี้ ซึ่งสามารถแบ่งได้ดังนี้


เครื่องปั้นดินเผาแบบทวารวดี 
ทวารวดี คือ กลุ่มวัฒนธรรมที่อยู่ในบริเวณภาคกลางของไทยในปัจจุบัน และเป็นกลุ่มเมืองโบราณสมัยประวัติศาสตร์ตอนต้น ประมาณพุทธศตวรรษที่ 12 – 16 โดยมีหลักฐานแสดงให้เห็นถึงการรับวัฒนธรรมมาจากอินเดียสมัยคุปตะและหลังคุปตะ แบบอย่างของวัฒนธรรมแบบทวารวดีโดยเฉพาะบริเวณแหล่งโบราณคดีที่สำคัญ ได้แก่ เมืองลพบุรี อู่ทอง-สุพรรณบุรี คูบัว-ราชบุรี ดงละคร – นครนายก อินทร์บุรี – สิงห์บุรี หริภุญไชย – ลำพูน เป็นต้น
พบรูปแบบภาชนะเครื่องปั้นดินเผา ได้แก่ หม้อมีสัน หม้อก้นกลม ไห ชาม หม้อมีพวย จานมีเชิงสูง เนื้อดินปั้นภาชนะจะเป็นแบบเนื้อเอิร์ทเธนแวร์ เนื้อดินมีความพรุนตัว มีสีแดง น้ำตาลเทาแก่ มีการตกแต่งลวดลายทั้งลายขูดรีด การเขียนสี การขัดมัน และการกดประทับด้วยแม่พิมพ์กดโดยมีรูปแบบที่เด่นชัด ได้แก่ ลายกดประทับรูปคน สัตว์ หรือดอกไม้ ประทับลงบนไหล่และตัวของภาชนะดินเผา

เครื่องปั้นดินเผาลพบุรี หรือที่เรียกว่า เครื่องถ้วยเขมร 
กำหนดอายุได้ประมาณในพุทธศตวรรษที่ 16-19 เครื่องปั้นดินเผาสมัยนี้มีการค้นพบเตาเผาที่บ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ ภาชนะเครื่องปั้นดินเผาที่พบส่วนใหญ่เป็นภาชนะดินเผาทรงสูง เช่น ไหเท้าช้างไหมีหู ชามพาน กาน้ำ กระปุก โดยเฉพาะนิยมทำเป็นภาชนะรูปสัตว์ต่างๆ เช่น ช้าง กระต่าย หมู ลิง และนก เป็นต้น เนื้อดินปั้นที่ทำเป็นภาชนะเป็นแบบเนื้อดินธรรมดาเผาแกร่งมีทั้งชนิดเคลือบและไม่เคลือบ ชนิดเคลือบจะมีสีเขียวมะกอก เขียวขี้ม้า ขาว และน้ำตาล ส่วนภาชนะที่ไม่เคลือบจะมีเนื้อดินปั้นสีเทา เหลือง แดง และเทาอมดำ ในสมัยนี้นับว่ามีพัฒนาการขึ้นในเรื่องของการใช้น้ำเคลือบ โดยการใช้ขี้เถ้าพืชต่างๆ มาใช้ผสมกับดินหรือการใช้ขี้ตะกรันโลหะมาทำเป็นเคลือบ โดยเฉพาะเคลือบสีดำ
 การขึ้นรูปภาชนะส่วนใหญ่นั้นมีการขึ้นรูปด้วยแป้นหมุน โดยการเห็นร่องรอยของการใช้เชือกตัดดินออกจากแป้นหมุนในส่วนก้นภาชนะ แล้วมีการขึ้นด้วยมือและการใช้พิมพ์กดตกแต่งเพิ่มเติมในภาชนะนั้น เช่น ไหเท้าช้าง เป็นต้น
              
เครื่องปั้นดินเผาสุโขทัย 
กำหนดอายุได้ประมาณในพุทธศตวรรษที่ 19-21 จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์โบราณสถาน โบราณวัตถุ โดยเฉพาะหลักฐานทางเครื่องปั้นดินเผา แสดงให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองมั่งคั่งของสุโขทัยที่มีการผลิตเครื่องปั้นดินเผาอย่างจริงจัง โดยทำใช้ในราชอาณาจักรตลอดจนส่งเป็นสินค้าออกยังดินแดนห่างไกลออกไป
  แหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผาในสุโขทัยที่สำคัญ ได้แก่ บ้านป่ายาง บ้านเกาะน้อย อำเภอศรีสัชนาลัย เมืองสุโขทัยเก่า และเมืองเชลียง สวรรคโลก
  ภาชนะเครื่องปั้นดินเผาส่วนใหญ่ที่ผลิตจะเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อการใช้สอย เช่น จาน ชาม ไห เชิงเทียน กาน้ำ คนโท แจกัน และกระปุก เป็นต้น และผลิตภัณฑ์เครื่องประดับสถาปัตยกรรม เช่น กระเบื้อง ท่อน้ำ ปั้นลม บราลี ลูกกรง เป็นต้น
 เนื้อผลิตภัณฑ์จะมีทั้งประเภทเนื้อแกร่งและไม่แกร่ง รวมทั้งผลิตภัณฑ์ประเภทเคลือบและไม่เคลือบผลิตภัณฑ์สมัยนี้มีลักษณะที่โดดเด่น คือ ภาชนะเคลือบสีเขียว ฟ้าอมเขียว สีเขียวหยก หรือที่เรียกว่า เซลาดอน และมีเคลือบสีต่างๆ เช่น สีน้ำตาล ดำ เป็นต้น
การขึ้นรูปนั้นมีทั้งการขึ้นรูปด้วยมือ และมีการขึ้นรูปด้วยแป้นหมุนเป็นส่วนใหญ่ นิยมตกแต่งลวดลายต่างๆด้วยวิธีขูดขีดให้เป็นร่องลึกก่อนแล้วนำไปเคลือบหรือการเขียนสีเป็นลวดลายสีดำหรือสีน้ำตาลใต้เคลือบ เช่น ลายปลา ลายเรขาคณิต ลายพันธุ์พฤกษา
  แหล่งเตาเผาเครื่องปั้นดินเผาที่สำคัญในสมัยสุโขทัยนี้จากการขุดค้นและสำรวจทางโบราณคดีทำให้ทราบว่ามีเตาที่เกาะน้อย มีเตาเผา 600-800 เตา เป็นลักษณะเตาเผาที่ขุดลึกเข้าไปในดินริมฝั่งแม่น้ำ ต่อมาได้พัฒนาการด้วยการก่อผนังกั้นไฟสร้างเตาเผาในหลุมบนพื้นราบมีหลังคาเป็นดินเหนียวจนถึงการก่อสร้างเตาด้วยอิฐมีขนาดใหญ่มากขึ้น และมีการยกพื้นเตาเผาสูงขึ้น
 นอกจากนี้ยังมีแหล่งเตาเผาเตาป่ายางที่อำเภอศรีสัชนาลัย และแหล่งเตาเผาเมืองสุโขทัยนี้อยู่ใกล้กับลำน้ำโจนโดยมีเตาเผาตั้งเรียงรายเป็นแนวขนานกับคูน้ำล้อมรอบบริเวณวัดพระพายหลวง

เครื่องปั้นดินเผาล้านนา กำหนดอายุได้ประมาณในพุทธศตวรรษที่ 20 จากการสำรวจและขุดค้นทางโบราณคดีได้พบซากเตาโบราณที่ใช้เผาเครื่องปั้นดินเผาเป็นจำนวนมาก ตามจังหวัดต่างๆในภาคเหนือ แสดงให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองทางด้านเศรษฐกิจส่วนหนึ่ง และมีจุดมุ่งหมายในการทำคล้ายคลึงกับเครื่องปั้นดินเผาสุโขทัย คือ เป็นเครื่องปั้นดินเผาที่ใช้ในกิจกรรมทางศาสนาและใช้เป็นภาชนะใช้สอยในชีวิตประจำวัน

เครื่องปั้นดินเผาล้านนามีกระจัดกระจายตามแหล่งต่างๆดังนี้
1. เครื่องปั้นดินเผาเวียงกาหลง มีแหล่งเตาเผาที่กระจัดกระจายอยู่ในบริเวณที่เรียกว่า เวียงกาหลง อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย และอำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง เตาเผาที่พบทั้งหมดมีประมาณสองร้อยกว่าเตาเรียงรายอยู่ตามริมฝั่งแม่น้ำลาว เครื่องปั้นดินเผาส่วนมากที่พบมีการเคลือบใสสีเขียว เผาอุณหภูมิสูง เนื้อค่อนข้างแกร่ง ส่วนใหญ่ผลิตภัณฑ์เป็นภาชนะ เช่น จาน ชาม ถ้วย กระปุก แจกัน ไห ตะเกียง และปะติมากรรมขนาดเล็กที่เป็นพระพุทธรูปและรูปสัตว์ต่างๆเป็นต้น
การตกแต่งภาชนะดินเผาต่างๆมีการเขียนลวดลายใต้เคลือบด้วยสีดำกับสีน้ำตาลแดงเป็นรูปพันธุ์พฤกษา ใบไม้ ดอกไม้ ลายก้นขด ลายรูปสัตว์ เช่น ปลา ม้า สิงห์ และกิเลน เป็นต้น
2. เครื่องปั้นดินเผาสันกำแพง เตาเผาสันกำแพงที่พบตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาริมฝั่งแม่น้ำปิง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ เตาเผามีขนาดเล็กบางเตาเจาะริมตลิ่งเข้าไปเป็นโพรงบางเตาสร้างในบริเวณที่ราบ
เครื่องปั้นดินเผาสันกำแพงเป็นผลิตภัณฑ์เนื้อแกร่ง เผาในอุณหภูมิสูงนิยมเคลือบสีเขียว (celadon) และสีน้ำตาลภาชนะส่วนใหญ่ คือ จาน ชาม แจกัน ไห และกระปุก การตกแต่งภาชนะพวกจานชาม โดยการเขียนสีใต้เคลือบด้วยสีดำหรือสีน้ำตาลเป็นรูปปลาคู่ และรูปพันธุ์พฤกษาอยู่ตรงกลางภาชนะมีเส้นรูปวงกลมล้อมรอบ
3. เครื่องปั้นดินเผาพาน เตาเผาพานที่พบอยู่ที่บ้านโป่งแดงและจำปูในเขตอำเภอพาน จังหวัดเชียงราย เครื่องปั้นดินเผาพานมีเพียงสีเดียว คือ สีเขียว (celadon)แต่จะเป็นสีเขียวออกเหลืองนวลคล้ายสีรวงข้าวอ่อน จนถึงสีเขียวจนเคลือบจะเป็นสีน้ำตาล การเคลือบจะรานทั่วทั้งใบ
เนื้อดินปั้นของภาชนะต่างๆเผาที่อุณหภูมิสูงจนแกร่งเนื้อดินปั้นที่ใช้มีหลายสี เช่น สีขาวอมเทาและสีเหลืองซีด มีการตกแต่งลายด้วยการขูดรีดเป็นลวดลายต่างๆเช่นเดียวกับเครื่องปั้นดินเผาเตาเกาะน้อย
รูปแบบภาชนะที่ทำ ได้แก่ จาน ชาม ถ้วย คนโท ตะเกียง พาน ไห แจกัน และตุ๊กตา รูปสัตว์ต่างๆ นอกจากนี้ยังมีการทำกระเบื้องมุงหลังคาแบบเคลือบ ซึ่งมีผู้กล่าวว่ามีการทำเฉพาะที่เตาพานนี้เท่านั้น

เครื่องปั้นดินเผาสมัยอยุธยา จากหลักฐานการขุดค้นทางโบราณคดีในที่ต่างๆและการศึกษาค้นคว้าทางเอกสาร พบว่าการเสียกรุงครั้งที่1 พุทธศักราช 2112 นั้น ไมได้หมายถึงการทำลายเฉพาะภายในกรุงศรีอยุธยาเท่านั้น ตามหัวเมืองต่างๆ ก็ได้รับความกระทบกระเทือนด้วยเช่นกัน รวมทั้งอาณาจักรสุโขทัยซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอยุธยาด้วย

จากผลกระทบที่สำคัญของการเสียกรุงก็คือ การสลายตัวของอุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผาในอาณาจักรสุโขทัย ต่อมาทางอยุธยามีการสั่งซื้อเครื่องปั้นดินเผาจากจีนมาใช้ส่วนหนึ่งโดยเฉพาะในราชสำนักอยุธยา
ในสมัยอยุธยาก็ยังมีการทำเครื่องปั้นดินเผาเช่นกัน โดยมีลักษณะที่ต่างจากสุโขทัยทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนืออย่างเด่นชัด และในราวปีพุทธศักราช 2143 ได้มีการสร้างเตเผาขึ้นที่จังหวัดสิงห์บุรี โดยมีแหล่งเตาเผาที่สำคัญ ดังนี้

เครื่องปั้นดินเผาเตาแม่น้ำน้อย พบอยู่ในบริเวณตำบลเชิงกลัด อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี นับเป็นแหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผาที่สำคัญมากแห่งหนึ่งในบริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา โดผลิตเพื่อเป็นสินค้าภายในและภายนอกประเทศที่สำคัญ คือ ไหสี่หูนี้ทำเป็นภาชนะบรรจุสินค้าอาหารโดยมีการพบไหเหล้านี้เป็นจำนวนมากในแหล่งเรือจม

ลักษณะเครื่องปั้นดินเผาของเตาแม่น้ำน้อย คือ มีเนื้อดินปั้นแบบเนื้อแกร่ง มีการเคลือบสีน้ำตาล ได้แก่ ภาชนะพวกไหสี่หู กระปุกขนาดเล็ก และกระปุกเต้าปูน ส่วนเนื้อดินปั้นไม่แกร่ง ได้แก่ ภาชนะไห ครก อ่าง นอกจากนี้ยังทำผลิตภัณฑ์ประดับสถาปัตยกรรมสิ่งก่อสร้าง เช่น กระเบื้องเชิงชายประติมากรรมลอยตัวรูปยักษ์และท่อน้ำ เป็นต้น และในช่วงอยุธยาตอนปลายพุทธศตวรรษที่ 23 การติดต่อค้าขายกับต่างชาติเริ่มมีมากขึ้น โดยมีการสั่งทำเครื่องถ้วยชามประเภทเบญจรงค์จากจีน โดยมีลักษณะลวดลายเป้นของไทยเขียนสีบนเคลือบ 5 สี คือ เขียว แดง ขาว น้ำเงิน เหลือง และเครื่องถ้วยเขียนลายน้ำเงินขาวของจีน
เครื่องปั้นดินเผารัตนโกสินทร์ ระยะแรกของสมัยนี้ที่รับช่วงการทรุดโทรมจากอยุธยาเป็นสมัยที่ก่อสร้างประเทศจึงเริ่มการฟื้นฟูเครื่องปั้นดินเผา
- ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้โปรดให้มีการสั่งภาชนะเครื่องใช้ของหลวง ได้แก่ จาน ชาม จากเมืองจีนโดยส่งช่างไทยไปควบคุมการเขียนลวดลายให้เหมือนกับแบบที่ช่างหลวงเขียน ตัวอย่างเครื่องปั้นดินเผาที่สั่งทำส่วนใหญ่เป็นพวกเครื่องถ้วยชาม จาน โถ กระโถน และถ้วย แบบลวดลายไทยเขียนสีน้ำเงินบนพื้นขาว และเขียนสีเบญจรงค์ที่มีรูปเทพนม ครุฑ กินรี สิงห์ อยู่ในลายก้านขด
- ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงทำนุบำรุงฟื้นฟูเครื่องปั้มดินเผาในประเทศ กล่าวคือ ทรงให้สร้างเตาเผาแบบเตาทุเรียง ที่วัดสระเกศ เพื่อใช้ในการเผากระเบื้องมุงหลังคา กระเบื้องเคลือบสี ในตอนปลายสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นระยะที่เจริญรุ่งเรืองการศึกษาวิชาการที่ขยายตัวแพร่หลายเครื่องถ้วยชามที่สั่งเข้ามาค้าขายในเมืองไทยก็มีทั้งของจีน ญี่ปุ่น ฝรั่ง ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประเทศไทยเริ่มมีโรงงานผลิตเครื่องปั้นดินเผาประเภทเนื้อหยาบ เช่น กระถาง โอ่ง อ่าง และไห มีทั้งชนิดเคลือบและไม่เคลือบ

เครื่องปั้นดินเผาปัจจุบัน สมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลปัจจุบันอุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผาได้เจริญเติบโตตามลำดับ โดยอาศัยหลักวิชาการและเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้าร่วมประกอบกับคุณภาพของวัตถุดิบที่ใช้ โดยมีกรมวิทยาศาสตร์บริการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงานให้การสนับสนุนข้อมูลทางวิชาการจากการศึกษาวิจัย พัฒนาวัตถุดิบ โดยการสำรวจวิเคราะห์และทดสอบวัตถุดิบในประเทศเพื่อสนองตอบต่อโรงงานอุตสาหกรรมเซรามิกส์ต่างๆภายในประเทศ

ในปีพุทธศักราช 2503 ได้มีคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ได้ประกาศให้การสนับสนุนและส่งเสริมการลงทุนในกิจการอุตสาหกรรมเซรามิกส์ ดังนั้นจึงมีโรงงานอุตสาหกรรมเซรามิกส์ที่ได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุนเกิดขึ้น 8 แห่ง ในช่วงปี พ.ศ.2503-2508 ผลิตภัณฑ์ที่ผลิต ได้แก่ กระเบื้องปูพื้น กระเบื้องบุผนัง กระเบื้องโมเสก และเครื่องสุขภัณฑ์ เป็นต้น และในปีพุทธศักราช 2508 นี้เอง สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรีได้สนับสนุนโดยให้โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผาอยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติตั้งแต่ปลายแผนที่ 1-6
ปัจจุบันจึงทำให้มีโรงงานอุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผาขนาดใหญ่ประมาณ 38 โรงงาน ตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ และจังหวัดใกล้เคียง ได้แก่ จังหวัดสระบุรี ปทุมธานี สมุทรสาคร นครปฐม โดยเฉพาะบางโรงงานได้ร่วมลงทุนกับสหรัฐอเมริกาหรือเยอรมนีและซื้อเทคโนโลยีมาจากต่างประเทศด้วย สินค้าที่ผลิตส่วนใหญ่ ได้แก่ กระเบื้อง เครื่องสุขภัณฑ์ เครื่องถ้วยชาม เป็นต้น และมีโรงงานขนาดเล็กอีกหลายร้อยโรงงานกระจัดกระจายอยู่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะจังหวัดลำปางและเชียงใหม่มีอยู่ประมาณ 120 โรงงาน โรงงานเหล่านี้ผลิตถ้วยชาม เครื่องสุขภัณฑ์ เครื่องโลหะเคลือบโมเสก แก้วเซรามิค กระเบื้องปูพื้น กระเบื้องประดับผนัง เครื่องฉนวนไฟฟ้า และอิฐก่อสร้าง เป็นต้น ปริมาณการผลิตเพียงพอต่อการใช้ในประเทศ และยังสามารถส่งเป็นสินค้าออกจากมูลค่าการส่งออกในปีพ.ศ.2517 มีการส่งออก 25 ล้านบาท (F.O.B) ในปี พ.ศ. 2535 มีการส่งออก 5,678 ล้านบาท (F.O.B) ดังหน้าภาคผนวก 1 ประกอบกับการถ่ายทอดเทคโนโลยีทางเครื่องปั้นดินเผาหรือเซรามิกส์ จากประเทศที่เจริญและก้าวหน้าทางเซรามิกส์ เช่น ประเทศญี่ปุ่น ไต้หวัน และสหรัฐอเมริกา มายังประเทศไทยด้วยปัญหาค่าแรงงานและค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นจนไม่สามารถดำเนินธุรกิจอุตสาหกรรมเซรามิกส์เพื่อผลิตสินค้าทั้งในระดับต่ำและระดับกลางได้ จึงเป็นโอกาสอันดีของประเทศไทยในปัจจุบันที่มีความพร้อมในทุกๆด้าน เช่น สิ่งสาธารณูปโภคที่รองรับการผลิต-การขนส่ง ท่าเรือส่งออก ที่ดินราคาถูก มีนิคมอุตสาหกรรม แหล่งงานที่มีคุณภาพ ค่าจ้างแรงงานที่ต่ำภูมิอากาศที่เหมาะสมกับการผลิต เสถียรภาพทางการเมือง ระบบการเงิน-ธุรกิจ การส่งเสริมการลงทุนรัฐ นโยบายการกระจายโรงงานอุตสาหกรรมออกสู้ภูมิภาคโดยแรงจูงใจจากการลดภาษีต่างๆและการประกาศใช้ภาษีมูลค่าเพิ่ม จึงทำให้อุตสาหกรรมเซรามิกส์ในประเทศไทยยุคปัจจุบันและที่กำลังขยายตัวเพิ่มขึ้นอีกในอนาคตมีเสถียรภาพมั่นคงและมีความเจริญก้าวหน้าในทุกๆด้าน

แก้วเซรามิค, แก้วมัค, สกรีนแก้ว,แก้วเซรามิคราคาส่ง, โรงงานเซรามิค, ถ้วยเซรามิค, แก้วเซรามิคลําปาง, แก้วกาแฟเซรามิค, แก้วมัคราคาส่ง, สกรีนแก้วกาแฟ, รับสกรีนแก้ว,แก้ว mug, แก้วเซรามิคราคาถูก, แก้วสกรีน, ชุดแก้วกาแฟ, แก้วเซรามิคสกรีนโลโก้, โรงงานผลิตแก้วเซรามิค, ชุดกาแฟเซรามิค, แก้วน้ำ, แก้วมัคราคาถูก, โรงงานแก้วเซรามิค, แก้วสกรีนโลโก้, โรงงานเซรามิคลําปาง


บริษัทเซรามิค เอส.ที.ซี. จำกัด | CERAMIC STC CO.,LTD
98 หมู่ 10 ตำบลปงแสนทอง อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง 52100 
ติดต่อ : ฝ่ายขาย  Tel : 054-367-490  
Fax: 054-367-491 
Mobile: 08-4687-8354, 08-3090-2080 
Opening Hours : Mon-Sat : 10:00 – 20:00 
Email: info@ceramicstc.co.th
Line: @ceramicstc

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น